คำยืมภาษาจีนปรากฏอยู่ในภาษาไทยตั้งเเต่โบราณ กระทั่งคำเหล่านั้นได้กลืนกลายเป็นคำไทย ทั้งคำไทยโบราณ และคำที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น การนับเลขลำดับที่เเบบโบราณว่า อ้าย ยี่ สาม ไส งั่ว ลก คำว่า ” พ่าย ” ที่เเปลว่า เเพ้ คำว่า “ มิ่ง “ ซึ่งภาษาจีนเเปลว่า ” ชีวิต “ ในคำซ้อน ” มิ่งขวัญ “ สันนิษฐานว่าสาเหตุเพราะมีกลุ่มชนชาติพันธุ์ไทอาศัยอยู่ในดินเเดนซึ่งต่อมาได้กลายเป็นประเทศจีนในปัจจุบัน ได้เเก่ ยูนนาน กุ้ยโจว กวางสี เเละบางส่วนของเกาะไหหลำ ส่งผลต่อการรับอิทธิพลทางภาษา เมื่อกลุ่มชนเหล่านี้บางส่วนได้เคลื่อนย้ายเข้ามาอาศัยในดินเเดนประเทศไทยปัจจุบันถ้อยคำที่เป็นคำยืมจึงยังหลงเหลืออยู่
อย่างไรก็ตาม คำยืมภาษาจีนตามความรับรู้ของคนทั่วไปหมายเอาคไยืมจากภาษาจีนกลางเเละภาษาจีนถิ่นต่างๆ เช่น ภาษาจีนเเต้จิ๋ว ไหหลำ ฮกเกี้ยน ฮากกา ของกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพเข้ามาในดินเเดนประเทศไทยภายหลัง การยืมคำภาษาจีน ในกรณีดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะการติดต่อสัมพันธ์กันทางการค้าเเละวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มคนไทยเเละกลุ่มคนจีนเปนสำคัญ
ข้อสังเกตคำยืมภาษาจีนในภาษาไทย
1.คำยืมภาษาจีนมักออกเสียงใกล้เคียงกับคำเดิม เช่น กี่เพ้าตงฉิน กังไส
2.คำยืมภาษาจีนมักปรากฏรูปวรรณยุกต์ตรีเเละรูปวรรณยุกต์จัตวา เช่น กุ๊ย บ๊วย ก๋วยเตี๋ยว
วงศัพท์คำยืมภาษาจีนในภาษาไทย
1.ชื่ออาหาร วิธีทำอาหาร อุปกรณ์เครื่องครัว
เช่น พะโล้ เเป๊ะซะ เต้าทึง เต้าหู เต้าฮวย เกี้ยมไฉ่ จับฉ่าย ก๋วยเตี๋ยว เกาเหลา เจียว ตุ๋น เจี๋ยน ตะหลิว ปังตอ อั้งโล่ หม้ออวย หรือเเม้กระทั่งสถานที่รับประทานอาหาร เช่น " เหลา " ที่เเปลว่าภัตตาคาร
2.คำเรียกอาชีพ
ศัพท์เกี่ยวกับธุรกิจการงาน การค้าเเละการพนัน เช่น ไต้ก๋ง เถ้าเเก่ ซินเเส ยี่ปั๊ว ( ตัวเเทนจำหน่ายสินค้า ) เเป๊ะเจี๊ยะ ( กินเปล่า,เงินกินเปล่า ) กงสี โสหุ้ย ( ค่าใช้จ่าย ) เจ๊ง เซ็งลี้ฮ้อ ( ค้าขายดี ) ห้าง หุ้น เซ้ง ตังเก หวยโป จับยี่กีโรงตึ๊ง ( โรงรับจำนำ ) ตงฉิน กังฉิน
3.ชื่อสิ่งของเครื่องใช้
เช่น โต๊ะ เก้าอี้ กี่เพ้า เกี๊ยะ ลูกเต๋า ถ่าน ไถ้ กางเกงขาก๊วย โหล
4.คำเรียกญาติ
เช่น เฮีย เจ๊ ซ้อ อากง อาม้า อาเเปะ อาเจ็ก
5.คำเรียกยศตำเเหน่งเชื้อพระวงศ์
เช่น ฮ่องเต้ ฮองเฮา อ๋อง
6.ชื่อประเพณีและศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
เช่น เชงเม้ง เเซยิด งิ้ว เจ้าเเม่กวนอิม ตี่จูเอี้ย ไฉ่ซิงเอี้ย ปีชง กินเจ เเซ่ เซียน
7.กิริยาท่าทาง
เช่น โล้ บู๊ เลียะพะ ห้อ
8.ศัพท์เบ็ดเตล็ด
เช่น เฮง ซวย เจ๊งบ๊องห่วย เก๋า ชีช้ำ
9.สำนวนและคำที่มีความหมายโดยนัย
ในที่นี้มีทั้งการยืมชื่อเฉพาะ เช่น
" เปาบุ้นจิ้น " ใช้ในเชิงเปรียบเทียบ หมายถึง คนที่มีจิตใจเที่ยงตรงยุติธรรม และ
ศัพท์ทั่วไป เช่น "เกาเหลา" หมายถึง ไม่ถูกกัน "เบ๊" หมายถึง คนที่ตกเป็น
เบี้ยล่างของผู้อื่น เป็นต้น
10. คำยืมภาษาจีนในภาษาถิ่น
เช่น ภาษาถิ่นจันทบุรีและตราด
เรียกพี่ชายและพี่สะใภ้ว่า " เหีย-โช้ " ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำว่า " เฮีย-ซ้อ "
ในคำยืมภาษาจีนของภาษาไทยมาตรฐาน
11.คำยืมในคำซ้อน
เช่น เจรจาต้าอ้วย มิ่งขวัญ